สัตว์เลี้ยงสามารถมีความหลากหลายทางด้านระบบประสาท (Neurodivergent) ได้หรือไม่?

เมษายน เป็นเดือนแห่งการตระหนักรู้ออทิสซึม (National Autism Awareness Month) ในโอกาสนี้เราลองมาเรียนรู้กันเกี่ยวกับอาการที่ผู้คนส่วนใหญ่มักจะมีความเข้าใจผิด ๆ เพื่อสร้างการรับรู้ การยอมรับ และการเข้าใจในตัวตนของผู้ที่อยู่ในกลุ่มอาการออทิสซึม (Autistic Spectrum Disorder)

อาการออทิสซึมหรือออทิสติกนั้น ส่งผลต่อบุคคลในระดับที่แตกต่างกันออกไป และเป็นที่เข้าใจกันในวงกว้างว่าอาการดังกล่าวส่งผลต่อทักษะในการสื่อสารและการเข้าสังคม แต่ทุกคนเคยสงสัยมั้ยว่าสัตว์เลี้ยงของเราจะมีอาการออทิสซึมได้เหมือนกันรึเปล่า? หรือสัตว์เลี้ยงของเราจะมีส่วนช่วยผู้ที่มีอาการเหล่านี้ได้หรือไม่? ลองมาหาคำตอบในบทความนี้ไปด้วยกัน!

ความหลากหลายทางด้านระบบประสาท (Neurodiversity) คืออะไร?

คำว่า ความหลากหลายทางด้านระบบประสาท (Neurodiversity) นั้น ใช้เพื่อบรรยายถึงความแตกต่างที่หลากหลายไปตามธรรมชาติของสมองมนุษย์และการทำงานของสมอง โดยเฉพาะที่เกี่ยวกับทักษะการเข้าสังคม การเรียนรู้ แรงจูงใจ อารมณ์ และการทำงานทางสมองด้านอื่น ๆ ปกติแล้วมักจะใช้เมื่อกล่าวถึงกลุ่มอาการออทิซึม (Autistic Spectrum Disorder)

ออทิสซึมคืออะไร?

ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (Centers for Disease Control and Prevention) ได้ให้คำนิยามเอาไว้ว่า ออทิสซึมเป็นความพิการทางด้านการพัฒนาการที่ส่งผลต่อการเข้าสังคม การสื่อสาร และพฤติกรรม เป็นเรื่องสำคัญที่ควรตระหนักรู้ว่า ออทิสซึมเป็นอาการที่สามารถนิยามได้ยากมาก และอาจจะแตกต่างกันออกไปจากคนหนึ่งสู่อีกคน

สัตว์เลี้ยงเป็นออทิสซึมได้มั้ย?

แม้ในการวินิจฉัยโรคของมนุษย์ กลุ่มอาการออทิซึม (Autistic Spectrum Disorder) ก็เป็นกลุ่มอาการที่มีความซับซ้อนและแตกต่างกันเป็นอย่างมาก ตั้งแต่อาการเล็กน้อยไปจนถึงอาการที่รุนแรง โดยในสื่อต่าง ๆ จะมีการแสดงอาการของคนที่มีเป็นออทิสซึมออกมาในรูปแบบที่ค่อนข้างเหมารวม เป็นอาการที่ค่อนข้างหายากและไม่ได้บ่งบอกถึงอาการหรือโรคแทรกซ้อนอื่น ๆ ที่อาจจะเป็นได้อีกมากมาย

ด้วยความหลากหลายนี้การวินิจฉัยว่าสัตว์เลี้ยงนั้นสามารถเป็นออทิสซึมได้หรือไม่จึงเป็นความท้าทายอย่างหนึ่ง โดยในปัจจุบันนี้ยังไม่มีผลการวิจัยที่ยืนยันว่าสัตว์สามารถมีอาการออทิสซึมได้หรือไม่ อย่างไรก็ตาม สุนัขและแมวอาจมีอาการที่คล้ายคลึงกับอาการที่พบได้บ่อยในผู้ที่เป็นออทิสซึมดังต่อไปนี้

สุนัขอาจได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นออทิสซึมได้ แต่ชื่ออาการดังกล่าวจะเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติในสุนัข (CDB: Canine Dysfunctional Behavior) โดยนักวิจัยพบว่า สุนัขที่เกิดมาพร้อมกับอาการนี้หรือมีอาการในภายหลัง จะสามารถแยกสุนัขที่โตกว่าได้ยากเมื่อต้องเข้าสังคมด้วยกัน คล้ายกันกับคนที่มีอาการออทิสซึมที่จะสามารถประเมินสถานการณ์ทางสังคมได้ยากกว่านั่นเอง

แมวที่มีอาการออทิสซึมยังคงเป็นเรื่องที่ต้องถกเถียงกันต่อไปในสังคมนักวิทยาศาสตร์ โดยบางแหล่งข้อมูลได้บอกไว้ว่า แมวนั้นสามารถเป็นออทิสซึมได้ ในขณะที่แหล่งอื่น ๆ บอกว่ายังไม่มีงานวิจัยมากเพียงพอที่จะให้ข้อสรุป อย่างไรก็ตาม มีการยอมรับกันว่าแมวสามารถแสดงพฤติกรรมที่คล้ายคลึงกับอาการออทิสซึมได้เช่นกัน

พฤติกรรมที่แสดงออกในสัตว์เลี้ยง

แน่นอนว่าสัตว์เลี้ยงอาจจะไม่ได้แสดงอาการแบบเดียวกันอย่างในมนุษย์ที่เป็นออทิสซึม แต่อาจมีหลายอาการในสัตว์เลี้ยงที่ทำให้หลายคนสับสนกับอาการขอออทิสซึมได้ และนี่เป็นตัวอย่างพฤติกรรมที่อาจเกี่ยวข้องกับอาการบางอย่างที่สัตว์เลี้ยงของเรากำลังเป็นอยู่

สุนัขสามารถมีอาการออทิสซึมได้ แต่จะเรียกว่าเป็นกลุ่มอาการความผิดปกติในสุนัข (CDB: Canine Dysfunctional Behavior) โดยเหล่านักวิจัยได้ค้นพบว่ามีความเชื่อมโยงกันระหว่างพฤติกรรมการวิ่งไล่หางตัวเองกับอาการ CDB โดยเฉพาะในสุนัขสายพันธุ์บูลเทอร์เรีย

นอกจากนี้ยังมีการพบว่าสุนัขเพศผู้นั้นมีโอกาสเป็น CDB มากกว่าสุนัขเพศเมียอีกด้วย พฤติกรรมการวิ่งไล่หางตัวเองมักจะมาพร้อมกับอาการมึนงง และอาจมีความดุร้ายบ้าง

นอกจากนี้ยังมีอาการอื่น ๆ ที่มีความคล้ายคลึงกัน CDB เช่น อาการวิตกกังวลในสุนัข (Canine Anxiety) โรคเกี่ยวกับระบบประสาท (Neurological Diseases) หรือภาวะไฮเปอร์ไทรอยด์ในสุนัข (Canine Hyperthyroidism)

พฤติกรรมปกติของแมวอาจทำให้หลาย ๆ คนเกิดความสงสัยได้ว่าแมวที่บ้านเราเป็นออทิสซึมหรือไม่ ไม่ว่าจะเป็นพฤติกรรมการส่งเสียงที่มากกว่าปกติ การแยกตัวออกจากสังคม และความไวต่อแสง เสียง และรสชาติ แต่ในปัจจุบันนี้ยังคงมีงานวิจัยเกี่ยวกับอาการออทิสซึมในแมวที่จำกัด

อย่างไรก็ตาม มีงานวิจัยที่พบว่าแมวสามารถมีอาการวิตกกังวล (Anxiety) และอาการย้ำคิดย้ำทำได้ (Obsessive Compulsive Disorder)

สัตว์สามารถช่วยผู้ที่เป็นออทิสซึมได้หรือไม่?

มีการศึกษาพบว่าทั้งสุนัขและแมวนั้นมีผลดีต่อเด็ก ๆ ที่มีกลุ่มอาการออทิสซึม เนื่องจากเด็กเหล่านี้อาจมีปัญหาในการเข้าสังคมได้ยากและต้องลำบากกับการแยกตัวออกจากคนอื่น ๆ สัตว์เลี้ยงสามารถช่วยอยู่เป็นเพื่อนและช่วยเสริมสร้างกิจวัตรประจำวันได้เป็นอย่างดี รวมถึงช่วยในเรื่องของการพัฒนาทางด้านอารมณ์ด้วยเช่นกัน

อ้างอิงจากการวิจัยโดยสถาบันวิจัยความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์และสัตว์ (Human Animal Bond Research Institute) สุนัขที่เป็นสัตว์เลี้ยงในครอบครัวที่มีเด็กออทิสซึมนั้นสามารถช่วยลดความเครียดที่เกี่ยวข้องกับผู้ปกครองได้ตลอดระยะเวลานาน และยังช่วยลดความลำบากที่เกิดจากปัญหาในครอบครัวได้อย่างมีนัยยะสำคัญ

สรุปแล้ว สัตว์เลี้ยงขนฟูของเราก็สามารถมีอาการออทิสซึมได้เช่นเดียวกัน ถึงแม้จะยังไม่ได้มีข้อสรุปที่ชัดเจนสำหรับเหล่าแมว แต่กับน้องหมานั้นก็สามารถมีอาการที่คล้ายกับอาการออทิสซึมได้ เรื่องของสุขภาพจิตของสัตว์เลี้ยงนั้นเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญที่คุณพ่อคุณแม่สัตว์เลี้ยงทุกคนควรรู้ หากใครกำลังสงสัยว่าสัตว์เลี้ยงที่บ้านอาจจะต้องการความช่วยเหลือ ติดต่อและเข้าปรึกษาสัตวแพทย์เพื่อข้อมูลเพิ่มเติมและขอความช่วยเหลือ

บทความนี้ผ่านการตรวจสอบเนื้อหาโดยสัตวแพทย์จากโรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (CUVET)


👩‍⚕️👨‍⚕️ MyFriend’s Healthcare บทความสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพกายและใจของน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงที่สมบูรณ์แข็งแรง!

🐶🐱MyFriend แอปของเหล่าสัตว์เลี้ยง ให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเจ้าน้องเพื่อนซี้ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยบริการและคอนเทนต์สนุก ๆ มากมาย!

References

Author

Enjoyed the article? Share with a Friend!