5 วิธีสังเกตอาการโรคซึมเศร้าในสัตว์เลี้ยง

ช่วงการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่ได้มีเพียงแต่มนุษย์เท่านั้นที่เป็นโรคซึมเศร้า แต่ “สัตว์เลี้ยง” ของเราก็เป็นได้ด้วยเช่นกัน ใช่แล้วทุกคนอ่านไม่ผิด เพราะโรคซึมเศร้าสามารถเกิดขึ้นกับสัตว์เลี้ยงได้ด้วยและมาจากหลายปัจจัย เช่น ความรู้สึกโศกเศร้าไปจนถึงภาวะฮอร์โมนผิดปกติ

แต่ในฐานะที่ทุกคนเป็น “พ่อแม่ของสัตว์เลี้ยง” เคยสงสัยกันมั้ยว่า จะสังเกตอาการโรคซึมเศร้าในสัตว์เลี้ยงได้อย่างไรบ้าง? MyFriend มี 5 วิธีสังเกตอาการต่าง ๆ แบบง่าย ๆ มาฝากทุกคน และขอบอกก่อนว่าอาการของน้อง ๆ ที่เป็นโรคซึมเศร้าก็ละม้ายคล้ายคนเลยล่ะ

สัตว์เลี้ยงไม่อยากอาหาร

อาการไม่อยากอาหารในสัตว์เลี้ยงสามารถเกิดขึ้นได้เป็นครั้งคราว เพราะบางทีน้อง ๆ อาจกำลังปวดท้องหรือเครียด และจะเลือกกินอาหารแต่น้อยหรือไม่กินอะไรเลย แต่หากสัตว์เลี้ยงหยุดกินอาหารไปเลยนานติดต่อกันหลายวัน นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่าสัตว์เลี้ยงของคุณกำลังเป็นซึมเศร้า และต้องพาไปรักษาด่วน! คงไม่มีใครอยากจะปล่อยให้สัตว์เลี้ยงสุดเลิฟหิวจนตาย ใช่มั้ยละ?

ไม่เคลื่อนไหวร่างกายมากเหมือนเดิม

อาการนี้เป็นสัญญาณบ่งบอกว่าสุนัขของคุณเป็นโรคซึมเศร้าอย่างเห็นได้ชัดด้วยสองตาของเรา เพราะว่าสัตว์เลี้ยงแสดงอาการเศร้าและเบื่อหน่ายโลกใบนี้ หรือบ้างก็มักหาวบ่อย ไม่ร่วมกิจกรรมกับพ่อแม่สัตว์เลี้ยง หรือทำกิจกรรมร่วมกับฝูง และในบางครั้งพวกมันก็อาจจะมองตาค้อนใส่คุณด้วย

การนอนหลับผิดปกติ

โดยปกติแล้วสัตว์เลี้ยงจะนอนหลับเฉลี่ย 8-14 ชั่วโมงต่อวัน แต่หากสัตว์เลี้ยงของคุณเอาแต่นอนจมที่นอนไม่ไปไหนนานกว่านี้ นั่นอาจเป็นสัญญาณบอกว่า สัตว์เลี้ยงกำลังเผชิญกับภาวาโรคซึมเศร้าอยู่ 

สัตว์เลี้ยงมีพฤติกรรมก้าวร้าว

สัตว์เลี้ยงของคุณอาจมีพฤติกรรมดื้อรั้นจนผิดสังเกต แต่ก็ยังทำตามคำสั่งคุณอยู่นะ หรือยังเดินตามคุณไปไหนต่อไหนก็ตาม แต่นี่ก็เป็นสัญญาณเริ่มต้น นอกจากนี้ สัตว์เลี้ยงของคุณที่ป่วยเป็นซึมเศร้าแล้ว จะปฏิเสธที่จะทำทุกสิ่งอย่างที่คุณเรียกร้องและบางทีก็มาพร้อมอารมณ์ที่ก้าวร้าว หรือมองแรงใส่ น้องบางตัวอาจจะกัดคุณด้วย เพราะเกลียดการถูกแตะต้องขึ้นมาดื้อ ๆ

เลียหรือกัดตัวเองบ่อย ๆ 

สัตว์เลี้ยงที่ป่วยซึมเศร้ามักจะเลียหรือกัดตัวเองบริเวณฝ่าเท้า หาง หรือว่าทั้งตัวก็ได้ เมื่อพวกมันรู้สึกวิตกกังวล และในกรณีที่เลวร้ายที่สุดคือ สัตว์เลี้ยงของคุณจะทำร้ายตัวเองและนั่นอาจนำไปสู่การฆ่าตัวตายได้แบบเดียวกันกับที่เกิดกับมนุษย์  

หากสัตว์เลี้ยงสุดรักของทุกคนมีอาการดังกล่าวที่ว่ามา อย่าได้รีรอพาน้อง ๆ ไปหาสัตวแพทย์กันนะ

#MyFriendApp  เตรียมเปิดให้ดาวน์โหลดผ่าน App Store และ Google Play เร็ว ๆ นี้ 🐾


👩‍⚕️👨‍⚕️ MyFriend’s Healthcare บทความสุขภาพสัตว์เลี้ยงที่ได้รับการตรวจสอบเนื้อหาจากผู้เชี่ยวชาญ มีแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากทั้งในไทยและต่างประเทศ เพื่อความเข้าใจที่ถูกต้องในเรื่องสุขภาพกายและใจของน้อง ๆ สัตว์เลี้ยงที่สมบูรณ์แข็งแรง!

🐶🐱 MyFriend แอปของเหล่าสัตว์เลี้ยง ให้คุณพ่อคุณแม่ดูแลเจ้าน้องเพื่อนซี้ได้ดียิ่งขึ้น ด้วยบริการและคอนเทนต์สนุก ๆ มากมาย!

Author

Enjoyed the article? Share with a Friend!